สัมมนาวิชาการสังคมและสุขภาพ ประวัติศาสตร์ สุขภาพและความทรงจำ

สัมมนาวิชาการสังคมและสุขภาพ ประวัติศาสตร์ สุขภาพและความทรงจำ

สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพจัดประชุมเรื่องประวัติศาสตร์ สุขภาพและความทรงจำเมื่อ สิงหาคมทีผ่านมา โดยมีนักประวัติศาสตร์ นักสังคมศาสตร์ นักวิจัยด้านสุขภาพชุมชน นักพัฒนาเอกชน และผู้สนใจกว่า 50 คน สัมมนาแลกเปลี่ยนทางวิชาการ มีวัตถุประสงค์คือ

1)    เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ด้านสุขภาพให้สามารถขยายกรอบแนวคิด และวิธีการศึกษาให้กว้างออกไปจากพัฒนาการการแพทย์และการสาธารณสุขของรัฐไทย
2)    เป็นเวทีการประสานแนวคิดและปฏิบัติการทางสังคมของคนทำงานด้านสังคมและสุขภาพ ในวาระหนึ่งของการขับเคลื่อนงานประวัติศาสตร์สุขภาพที่สร้างสำนึกใหม่ของ ระบบสุขภาพที่ไม่ได้มีการแพทย์ระบบเดียว
3) เป็นพื้นที่การสนทนาความรู้และปฏิบัติการเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายทางวิชาการประวัติศาสตร์ สังคมวิทยามานุษยวิทยาและสุขภาพ

สรุปการสัมมนาวิชาการสังคมและสุขภาพ ปี 2552
วันที่ 4-6 สิงหาคม 2552  ณ สวนสามพราน โรสการ์เด้น ริเวอร์ไซด์  รีสอร์ท จังหวัดนครปฐม
  
การสัมมนาวิชาการสังคมและสุขภาพ ปี 2552 วันที่ 4-6 สิงหาคม 2552  ณ สวนสามพราน โรสการ์เด้น ริเวอร์ไซด์  รีสอร์ท จังหวัดนครปฐม วาระการจัดสัมมนาประจำปีของสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพปีนี้    มีวัตถุประสงค์    เพื่อเป็นพื้นที่การสนทนาความรู้และปฏิบัติการเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายทาง วิชาการประวัติศาสตร์ สังคมวิทยามานุษยวิทยาและสุขภาพ  โดยการจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ตลอดจนแนวทาง วิธีการ และประสบการณ์ ในการทำงานด้านประวัติศาสตร์  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้มิติทางประวัติศาสตร์ของปัญหาสาธารณสุขร่วมสมัย  จากการสนับสนุนงบประมาณของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงมีผลทำให้เกิดการขยายความร่วมมือการทำงานสังคมและสุขภาพกับเครือข่ายนัก วิชาการ สถาบันการศึกษาและเครือข่ายสุขภาพชุมชนที่กำลังดำเนินงานและมีความเคลื่อน ไหวด้านประวัติศาสร์และพิพิธภัณฑ์สุขภาพ  ให้นำไปสู่การขับเคลื่อนงานหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย

                                            
                                            
                                            


ผลการสัมมนามีครั้งนี้  ได้รับทั้งเนื้อหาและความร่วมมือในการทำงานสร้างองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ สุขภาพในอนาคต  เป็นการขับเคลื่อนการสร้างความรู้สุขภาพกับสังคมผ่านสาขาความรู้ด้านประวัติ ศาสตร์  เวทีการนำเสนอ อภิปรายและแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของเครือข่ายนักวิชาการหลายสาขา จำนวน  86 คน  ในประเด็นหัวข้องานด้านหอจดหมายเหตุ  พิพิธภัณฑ์  และประวัติศาสตร์สุขภาพ  จึงสรุปผลการสัมมนาได้ดังนี้

                                            
                                            
                                            

    1. พิพิธภัณฑ์มีความหมายได้มากกว่าแหล่งอนุรักษ์วัตถุสิ่งของทางวัฒนธรรมแต่ สามารถเป็นกระบวนการที่บอกเรื่องราวภาวะความเป็นมนุษย์ที่มีความหวังมีความ เจ็บปวด บอกเล่าความเป็นมาและเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตตามยุคสมัยได้พิพิธภัณฑ์จึงเป็น พื้นที่การเรียนรู้และทำความเข้าใจมนุษย์ที่แตกต่างทางวัฒนธรรมแต่มีความ รู้สึกนึกคิดที่แบ่งปันกันได้  ประสบการณ์เรียนรู้ตรงจากการทำงานของวิทยากรได้ขยายกรอบแนวคิดให้การจัดทำ พิพิธภัณฑ์สุขภาพที่จะเกิดขึ้นต่อไปยั่งยืนได้นั้น คือการทำให้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต  ให้ชีวิตและผู้คนเป็นตัวตั้งการเดินเรื่อง  และมีชีวิตผู้คนร่วมคิดและดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้  อย่างมีเจตจำนง  โดยการจัดการที่ดีอีกทั้งมีเครือข่ายเชื่อมโยงการทำงานกันตั้งแต่ขั้นเริ่ม ต้น

                                            
                                             
                                             

    2. ประวัติศาสตร์เป็นความทรงจำร่วมของผู้คนในสังคม  ประวัติศาสตร์สุขภาพจึงมาจากความทรงจำร่วมของคนทุกคนในสังคมที่มีประสบการณ์ ร่วมกันแต่ละยุคสมัย   ความรู้ทางประวัติศาสตร์สุขภาพจึงมีหลายชุดที่ต้องนำมาเชื่อมโยงกัน   ซึ่งจะเข้าใจรากเหง้าเชิงโครงสร้างที่กำกับการเขียนประวัติศาสตร์  จนเห็นแต่ประวัติศาสตร์เชิงสถาบัน  แต่กรณีการศึกษาและทำงานทางมานุษยวิทยาร่วมกับการใช้วิธีการศึกษาประวัติ ศาสตร์ท้องถิ่น  ทำให้เห็นประวัติศาสตร์ที่มีมนุษย์ตัวเล็กตัวน้อยเป็นองค์ประธาน  จากกรณีกลุ่มผู้ติดเชื้อของกลุ่มชาติพันธุ์ที่นำมาเสนอในเวที ประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือการเรียนรู้จักรากเหง้าความเป็นมาของตนเองและ บรรพบุรุษ  กระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์กลายเป็นการสร้างความทรงจำร่วมกันจนเกิดพลัง ของกลุ่มและชุมชนที่เรียนรู้ร่วมกัน  ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ที่เกิดขึ้น

                                             
                                             
                                             

    3. การสัมมนาผู้รู้เห็นประวัติศาสตร์สุขภาพ  เป็นวิธีการใหม่ที่เริ่มทดลองนำมาใช้ในสังคมไทย  ในรูปแบบการสนทนาของกลุ่มบุคคลผู้อยู่ในช่วงเวลาและเหตุการณ์เดียวกัน  บทสนทนานี้ไม่ใช่คำอธิบายทางประวัติศาสตร์  แต่เป็นความพยายามในการผลิตหลักฐานชั้นต้น  ทั้งในรูปการบันทึกเสียง  การถอดเทปบันทึกการจัดพิมพ์ที่มีการค้นคว้าอ้างอิง  เป็นข้อเท็จจริงที่นำมาจัดเก็บไว้รอให้นักประวัติศาสตร์มาค้นคว้าต่อไป   ซึ่งก่อให้เกิดบทเรียนในการจัดครั้งต่อ ๆ ไป คือ
        3.1ก่อนจัดสัมมนาผู้รู้เห็นแต่ละหัวข้อ  ควรมีขั้นตอนการค้นคว้าศึกษาเรื่องนั้นอย่างรอบด้าน  ให้รู้ถึงบริบทและข้อถกเถียงสำคัญ ๆ รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง
3.2    หอจดหมายเหตุสุขภาพมีภารกิจการรวบรวมและจัดระบบเอกสารชั้นต้น  สำหรับให้นักประวัติศาสตร์และผู้สนใจมาค้นคว้า  โดยไม่เคยรู้ล่วงหน้าได้เลยว่าข้อมูลที่เก็บรักษาไว้นี้จะมีการนำไปใช้และตี ค่าให้ความหมายอย่างไร  คือข้อเท็จจริงทุกคำพูดข้อมูลทุกชิ้นจึงมีคุณค่าบางอย่างที่ไม่มีใครล่วงรู้ ได้ฉะนั้นกระบวนการบันทึก สืบค้น ตรวจสอบและจัดเก็บจึงสำคัญมาก  แม้แต่
                         ระบบบันทึกเสียงที่เป็นเรื่องเทคนิคยิ่งไม่ควรพลาดเลย
3.3    หอจดหมายเหตุสุขภาพน่าจะมีบทบาทส่งเสริมการวิจัยค้นคว้าโดยการประชาสัมพันธ์ กระตุ้นและสนับสนุนทุนแก่นักศึกษา  โดยตั้งเงื่อนไขว่า ให้ค้นคว้าใช้และอ้างอิงเอกสารจากหอจดหมายเหตุ  ซึ่งเป็นการทำให้เกิดงานศึกษาวิจัยใหม่ ๆ และใช้ทุนไม่มากนัก
 

                                              
                                              
                                              

สรุปโดย   ปารณัฐ   สุขสุทธิ์