กาฬโรคครั้งหลังสุดที่ระบาดในประเทศไทย

กาฬโรคครั้งหลังสุดที่ระบาดในประเทศไทย

พ.ศ. 2495 มีรายงานผู้ป่วย 2 ราย ตาย 1 ราย ที่ตลาดตาคลี นครสวรรค์

ปกหนังสือ โรคห่า กาฬโรคถือเป็นรายงานการระบาดของกาฬโรคครั้งสุดท้ายในประเทศไทย จากนั้นไม่มีรายงานกาฬโรคเกิดขึ้นในประเทศไทยจนปัจจุบัน

ก่อนหน้าการระบาดครั้งสุดท้ายที่ตาคลี ย้อนหลังไป 40 ปี ในปี พ.ศ. 2456 เกิดกาฬโรคระบาดที่จังหวัดนครปฐม มีคนตาย 300 คน

ส่วนการระบาดใหญ่ก่อนนั้นเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2447

วันที่ 20 ธันวาคม 2447 นายแพทย์ เอช แคมเบล ไฮเอ็ด เจ้ากรมแพทย์สุขาภิบาล (Principal Medical Officer of Bangkok City) ได้รายงานถึงการระบาดของกาฬโรคอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยพบการระบาดอยู่ที่บริเวณโกดังเก็บสินค้าในจังหวัดธนบุรี ที่เรียกว่าตึกแดงและตึกขาว บริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของพ่อค้าชาวอินเดีย แล้วระบาดเข้ามาฝ้่งพระนคร จากนั้นกระจายไปยังจังหวัดต่างๆ ที่มีการติดต่อค้าขายกับจังหวัดพระนคร ทั้งทางบก ทางเรือ และทางรถไฟ ไม่มีสถิติจำนวนผู้ป่วยตายที่แน่นอน

 

เก็บความจาก Black Death โรคห่า กาฬโรค ยุคพระเจ้าอู่ทอง

เอกสารการเสวนา "แบ่งปันความรู้ เชิดชูศาสนา พัฒนาแหล่งน้ำลำคลอง" จัดโดย กระทรวงวัฒนธรรม โครงการสนทนาวันศุกร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมติชน ข่าวสด

9 กค. 2553 ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก) กรุงเทพ