โครงการหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สาธารณสุขแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐

โครงการหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สาธารณสุขแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข

ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐

 

 หลักการและเหตุผล

หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สาธารณสุขแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ริเริ่มมาจากโครงการ     หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ระบบสุขภาพไทย โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เป็นระยะเวลา ๕ ปี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๑๒๕๕๕ ตามหนังสือสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ที่ สธ ๐๒๐๕.๑๓/๒๒๐๙ ลงวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เพื่อรวบรวม จัดเก็บเอกสารที่มีคุณค่าอันเป็นแหล่งความรู้และสำนึกทางประวัติศาสตร์สุขภาพไทย และเป็นแหล่งให้การสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย เพื่อสร้างความรู้ทางประวัติศาสตร์และมิติทางสังคมและวัฒนธรรมสุขภาพ ตลอดจนให้บริการเอกสารสำคัญแก่สาธารณชน อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาดำเนินงาน พบปัญหาหลายประการ ทั้งด้านบุคลากรที่มีไม่เพียงพอเพราะต้องใช้บุคลากรที่มีวิชาชีพเฉพาะด้านจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ ปัญหาด้านสถานที่มีขนาดไม่เพียงพอต่อจำนวนเอกสารที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก เนื่องจากการดำเนินงานที่ผ่านมาโครงการฯ ได้รวบรวมเอกสารสำคัญของหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข เช่น สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เอกสารส่วนบุคคลนายแพทย์บรรลุ ศิริพานิช นายแพทย์นัดดา ศรียาภัย เป็นต้น ตลอดจนเอกสารเกี่ยวกับระบบสุขภาพไทยทั้งหมด ไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณ์เอกสารประเภทกระดาษ ภาพถ่าย สื่อโสตทัศนูปกรณ์ ฟิล์ม สไลด์ แผนที่ และแบบแปลน หรือเอกสารอ้างอิงต่างๆ เป็นต้น จึงจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งยวดเพื่อนำมาศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ประเมินคุณค่า จัดหมวดหมู่ อนุรักษ์ เผยแพร่ และให้บริการเอกสารจดหมายเหตุ ปัจจุบันโครงการหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ระบบสุขภาพไทยมีสถานที่ชั่วคราวในการดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๑ ถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๙) อยู่ที่ชั้น ๓ อาคาร ๑๐ ชั้น วิทยาลัยพยาบาลบำราศนราดูร ในสถาบันบำราศนราดูร ซึ่งมีพื้นที่จำกัดเพียง ๒๑๖ ตารางเมตร ไม่สอดคล้องกับปริมาณเอกสารที่รวบรวมและเพิ่มจำนวนมากขึ้นถึงประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ชิ้น

เนื่องในวาระอันเป็นมงคลการเฉลิมฉลองงาน ๑๐๐ ปี สาธารณสุขไทย กระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบให้จัดทำโครงการ ๑๐๐ ปี สาธารณสุขไทย (พ.ศ. ๒๔๖๑–๒๕๖๑) เพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ถาวรและหอจดหมายเหตุของกระทรวงสาธารณสุข ตาม๔.๑ ในหนังสือสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ที่ สธ ๐๒๐๕.๐๘/๑๕๖๖ ลงวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ดังนั้น สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพในฐานะผู้ดูแลรับผิดชอบโครงการจึงได้เสนอให้อนุมัติจัดตั้งหอจดหมายเหตุสุขภาพไทย กระทรวงสาธารณสุข ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยกำหนดให้มีการจัดตั้งหอจดหมายเหตุฯ ของกระทรวงสาธารณสุขขึ้น ณ อาคารคลังพัสดุ ตามหนังสือสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ สธ ๐๒๐๕.๐๘/๖๗9๔ ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เรื่อง ขอความเห็นชอบจัดตั้งหอจดหมายเหตุสุขภาพไทยของกระทรวงสาธารณสุข ณ อาคารคลังพัสดุ ซึ่งได้รับการจัดสรรพื้นที่อาคารคลังพัสดุเดิม   ชั้น ๑ และ ๔ ขนาดพื้นที่ประมาณ ๑,๐๐๐ ตารางเมตร ตามหนังสือกลุ่มบริหารทั่วไป ที่ สธ ๐๒๐๑.๐๑๖/๔๓๖ ลงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เพื่อจัดเก็บและรักษาเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์สุขภาพ การแพทย์และสาธารณสุข ให้มีความยั่งยืนและให้หน่วยงานต่างๆ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นกระจายไปทั่วทุกกรมเพื่อจัดแสดงประวัติและความภาคภูมิใจในหน่วยงานของตน และเพื่อให้งานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สาธารณสุขระดับชาติ ดำเนินงานควบคู่และพัฒนาไปด้วยกัน กระทรวงสาธารณสุขจึงอนุมัติให้มีการเปลี่ยนชื่อหอจดหมายเหตุฯ ตามหนังสือสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ที่ สธ ๐๒๐๕.๐๘/๑๓๔๑๑ ลงวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ เรื่อง แจ้งเปลี่ยนชื่อ หอจดหมายเหตุสุขภาพไทย กระทรวงสาธารณสุข เป็น หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สาธารณสุขแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข

 

กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มอบหมายให้สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพเป็นผู้กำกับดูแลรับผิดชอบโครงการหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สาธารณสุขแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ภายใต้การบริหารงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ต่อมาสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพได้ร่วมงานกับกองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแบบแปลนและประเมินราคาหอจดหมายเหตุฯ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อปรับปรุงพื้นที่อาคารชั้นที่ ,k๔ ตามคำสั่งกองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ            ที่ ๔๑/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๙ สำหรับดำเนินงานโครงการ โดยกำหนดแล้วเสร็จภายใน                ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๙kและกองแบบแผนขอขยายเวลาส่งมอบแบบแปลนและประเมินราคาหอจดหมายเหตุฯ ให้แก่สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 1๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ตามหนังสือกองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ที่ สธ ๐๗๐๓.๐๑.๐๑/๖3 ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เรื่อง ส่งแบบหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สาธารณสุขแห่งชาติ พร้อมประมาณราคาค่าก่อสร้างอย่างไรก็ดี การอนุมัติหลักการจัดตั้งหอจดหมายเหตุฯ ที่ผ่านมาไม่ได้กำหนดวงเงินสนับสนุนงบประมาณและอัตรากำลังไว้ การพัฒนางานด้านจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ เพื่อเก็บรักษาและให้บริการเอกสารจดหมายเหตุและวัสดุที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ มีคุณค่าทางการศึกษา การค้นคว้า หรือการวิจัย ให้มีความมั่นคงและต่อเนื่องระยะยาว อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่องค์การและประชาชนต่อเนื่องตลอดไปนั้น จำเป็นต้องมีงบประมาณดำเนินงานประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐ และบุคลากรที่ปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะบุคลากรด้านจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์เป็นวิชาชีพเฉพาะด้าน ต้องมีอัตรากำลังและงบประมาณสนับสนุนต่อเนื่อง กระทรวงสาธารณสุขเห็นความสำคัญด้านการพัฒนากำลังคนควบคู่กับประวัติศาสตร์และด้านอื่นๆ ตามนโยบายรัฐบาลข้อที่ ๔ ดังนั้นสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ จึงจัดทำโครงการเพื่อของบประมาณดำเนินกิจกรรมดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ด้วยความเรียบร้อย

         
 

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อรื้อถอนและปรับปรุงอาคารคลังพัสดุ ชั้น ๑ และ ชั้น ๔ เป็นอาคารหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สาธารณสุขแห่งชาติ

๒. เพื่อให้มีอุปกรณ์ในการดำเนินงานด้านเทคนิคจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ ตลอดปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐

๓. เพื่อส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยและผลิตงานวิชาการด้านประวัติศาสตร์สุขภาพ

๔. เพื่อรองรับการดำเนินงานและเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการและร่วมพิธีเฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปี สาธารณสุขไทย ใน พ.ศ. ๒๕๖๑

 

กลุ่มเป้าหมาย

๑. ปรับปรุงอาคารคลังพัสดุ ชั้น ๑ และ ชั้น ๔ เป็นหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สาธารณสุขแห่งชาติ จำนวน ๑ แห่ง

๒. มีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานบุคลากรด้านจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ จำนวน ๖ คน

๓. มีงบประมาณสนับสนุนแผนงานตลอดปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามแผนงานและกิจกรรม

 

ระยะเวลาดำเนินการ

ธันวาคม ๒๕๕๙ – กันยายน ๒๕๖๐

 

วิธีดำเนินการ/กิจกรรม

          ตามแผนและกิจกรรม ดังนี้

๑. รื้อถอนและปรับปรุงอาคารคลังพัสดุ ชั้น ๑kและ ชั้น ๔ เป็นหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สาธารณสุขแห่งชาติ

๒. งานโครงสร้างและวิศวกรรม

๓. จัดซื้อวัสดุสำหรับจัดเก็บงานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สาธารณสุขแห่งชาติ

๔. จัดพิมพ์คู่มือหอประวัติศาสตร์สุขภาพ และ หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สาธารณสุขแห่งชาติ
จำนวน ๓,๐๐๐ ชุด

๕. จัดพิมพ์หนังสือวิชาการประวัติศาสตร์สุขภาพ จำนวน ๑ เรื่อง

๖. ส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยและผลิตงานวิชาการด้านประวัติศาสตร์สุขภาพ

๗. จ้างเหมาบริการบุคลากรปฏิบัติงานด้านจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ จำนวน ๖ คน

- วุฒิปริญญาโท จำนวน ๒ คน (๔๐,๐๐๐ บาท x ๑๐ เดือน)

- วุฒิปริญญาตรี จำนวน ๔ คน (๖๐,๐๐๐ บาท ๑๐ เดือน)

 

งบประมาณ

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ จำนวน ๓,๕๙๕,๘๘๕ บาท    (สามล้านห้าแสนเก้าหมื่นห้าพันแปดร้อยแปดสิบห้าบาทถ้วน) ทั้งนี้สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ  ดังรายละเอียดแผนงาน/กิจกรรมการดำเนินงาน ดังนี้

ของบประมาณ งบลงทุนเหลือจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน ๒ รายการ เป็นเงิน ๑,๑๔๕,๘๘๕ บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นห้าพันแปดร้อยแปดสิบห้าบาทถ้วน) รายละเอียดดังนี้

๑. รื้อถอนและปรับปรุงอาคารคลังพัสดุ ชั้น ๑kและ ชั้น ๔ เป็นหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สาธารณสุขแห่งชาติ จำนวนเงิน ๑๘๗,๙๐๐ บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นเจ็ดพันเก้าร้อยบาทถ้วน)

๒. งานโครงสร้างและวิศวกรรม จำนวนเงิน ๙๕๗,๙๘๕ บาท (เก้าแสนห้าหมื่นเจ็ดพันเก้าร้อยแปดสิบห้าบาทถ้วน)

          ของบดำเนินงาน ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน ๕ รายการ เป็นเงิน ๒,๔๕๐,๐๐๐ บาท (สองล้านสี่แสนห้าหมื่นบาทถ้วน) รายละเอียดดังนี้

๑. จัดซื้อวัสดุสำหรับจัดเก็บงานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สาธารณสุขแห่งชาติkจำนวนเงิน  ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน)

๒. จัดพิมพ์คู่มือหอประวัติศาสตร์สุขภาพ และ หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สาธารณสุขแห่งชาติ จำนวน ๓,๐๐๐ ชุด จำนวนเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)

๓. จัดพิมพ์หนังสือวิชาการประวัติศาสตร์สุขภาพ จำนวน ๑kเรื่องkจำนวนเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน)

๔. ส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยและผลิตงานวิชาการด้านประวัติศาสตร์สุขภาพ จำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน)

๕. จ้างเหมาบริการบุคลากรปฏิบัติงานด้านจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ จำนวน ๖ คนkเป็นเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน)

- วุฒิปริญญาโท จำนวน ๒ คน (๔๐,๐๐๐ บาท x ๑๐ เดือน) = ๔๐๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนบาทถ้วน)

- วุฒิปริญญาตรี จำนวน ๔ คน (๖๐,๐๐๐ บาท ๑๐ เดือน) ๖๐๐,๐๐๐ บาท (หกแสนบาทถ้วน)

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สามารถดำเนินงานปรับปรุงอาคารคลังพัสดุ ชั้น ๑ และ ชั้น ๔ เป็นหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สาธารณสุขแห่งชาติ ตามแผนรองรับพิธีเฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปี สาธารณสุขไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑

๒. มีอุปกรณ์ในการดำเนินงานด้านเทคนิคจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ ตลอดปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐

๓. ได้ข้อมูลวิชาการด้านประวัติศาสตร์สุขภาพเพิ่มขึ้น

 

 

 

 

                                  ลงชื่อ ...................................................... ผู้เสนอโครงการ

                                             (นายแพทย์โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์)

                                          ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ

 

 

 

                                  ลงชื่อ ...................................................... ผู้เห็นชอบโครงการ

                                              (นายแพทย์พงศธร พอกเพิ่มดี)

                                         ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์

 

 

 

                                  ลงชื่อ ...................................................... ผู้อนุมัติโครงการ