ทั่วไป

หมวดหลัก
เอกสารส่วนบุคคล -> เสม พริ้งพวงแก้ว (ศ.นพ.)

รหัสเอกสาร
สบ 1.1 - 1.2

ผู้รวบรวมเอกสาร
ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว

ชื่อ
ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว-วิวัฒนาการของมนุษย์และประวัติศาสตร์การแพทย์ของโลก-ปีพ.ศ.2552

คำนำ

เอกสารส่วนบุคคลของศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว กลุ่มนี้เป็นเอกสารที่ได้รับจากการจัดสัมมนาผู้รู้เห็นเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551 เป็นข้อมูลวิวัฒนาการของมนุษย์ ประวัติศาสตร์การแพทย์ของโลก ภาพการรับเชิญเข้าร่วมงานครบรอบ 90 ปี กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552 ของท่าน ภาพการเข้าพบ ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว เพื่อขอสัมภาษณ์ และกิจกรรมการเข้าไปจัดทำทะเบียนเอกสารที่บ้านของท่าน โดยเจ้าหน้าที่หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ ลักษณะของข้อมูลประกอบด้วยเอกสารแผ่น ภาพถ่าย สำเนาหนังสือ ซีดี และแถบบันทึกเสียง รวม 2 กล่อง

ห้องภาพ

วีดีโอ/เสียง

วิดีโอ
Get the Flash Player to see this player.
เสียง
Get the Flash Player to see this player.

เอกสาร

อื่นๆ

ส่วนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับเอกสาร (Identity statement area)
1.1 สัญลักษณ์หรือรหัสอ้างอิง (Reference code(s))
สบ 1.1-1.2
1.2 ชื่อเอกสาร (Title)
ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว
1.3 วัน เดือน ปี ของเอกสาร (Date(s))
พ.ศ. 2494 – 2552
1.4 ระดับของคำอธิบายเอกสาร (Level of description)
ระดับกลุ่ม
1.5 ขนาดและสื่อของเอกสาร (ปริมาณ จำนวนหรือขนาด) (Extent and medium of the unit ofdescription)
1.5.1 กล่องเอกสารขนาด 13 x 39 x 27 เซนติเมตร จำนวน 1 กล่อง และกล่องขนาด 25 x 33 x 8 เซนติเมตร จำนวน 1 กล่อง 1.5.2 แฟ้มขนาด 24 x 37½ x 2 เซนติเมตร (กว้าง x ยาว x สูง) จำนวน 7 แฟ้ม
ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับบริบทของเอกสาร (Context area)
2.1 ชื่อผู้ผลิต/รวบรวมเอกสาร (Name of creator(s))
ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว
2.2 ประวัติหน่วยงานหรือประวัติเจ้าของเอกสาร (Administrative / Biographical history)
ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว เกิดวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ณ บ้านเลขที่ 2245 ถนนรองเมืองซอย 4 (ปัจจุบันเรียกซอย 1) อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร จบชั้นมัธยมศึกษา 1-8 ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และจบการศึกษาแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2478 และดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ได้แก่ แพทย์ปราบอหิวาตกโรค จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครสวรรค์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหญิง โรงพยาบาลเด็ก วิทยาลัยพยาบาล แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์) ประธานกรรมการคณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ประธานสภามหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นกรรมการมูลนิ 17 แห่ง
2.3 ประวัติของเอกสารจดหมายเหตุ (Archival history)
เอกสารส่วนบุคคลของศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว กลุ่มนี้เป็นเอกสารที่ได้รับจากการจัดสัมมนาผู้รู้เห็นเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551 เป็นสำเนาลายมือเขียนของท่านเกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์และประวัติศาสตร์การแพทย์ของโลก ซีดีไฟล์ภาพการเข้าร่วมงานครบรอบ 90 ปี กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552 และบัญชีสำรวจเอกสารที่จัดเก็บที่บ้านของท่านซึ่งได้จัดทำขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 จำนวน 1 เล่ม ลักษณะของข้อมูลเป็นซีดีภาพถ่าย สำเนาหนังสือเก่า ซีดีไฟล์เอกสาร รวม 2 กล่อง
2.4 แหล่งเอกสารหรือหน่วยงานหรือผู้มอบหรือโอนย้ายเอกสาร (Immediate source of acquisition or transfer)
ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว
ส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาและโครงสร้างของเอกสาร (Content and structure area)
3.1 ขอบเขตและเนื้อหาของเอกสาร (Scope and content)
กล่องที่ 1 มีเนื้อหาของเอกสารเป็นเอกสารประวัติศาสตร์การแพทย์ของโลกโดยย่อที่ ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว เขียนด้วยลายมือและใช้ประกอบในการเข้าร่วมสัมมนาผู้รู้เห็น (Witness Seminar) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551 สำเนาหนังสือทางประวัติศาสตร์ที่จัดเก็บที่บ้านของท่าน ได้แก่ เม็งรายรำลึก การสัมพันธ์ระหว่างชาติไทยกับชาติจีน และบัญชีสำรวจเอกสารที่จัดทำแล้ว จำนวน 1 เล่ม กล่องที่ 2 ซีดีไฟล์ภาพศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ไปร่วมงานประชุมกระทรวงสาธารณสุขครบรอบ 90 ปี และงานวัน อสม. แห่งชาติ วันที่ 20 มีนาคม 2552 มีภาพฯพณฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กราบคารวะคุณพ่อเสม แถบบันทึกเสียงสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว วันอังคารที่ 9 กันยายน 2551 ที่บ้านซอยสุขุมวิท 93 โดยทีมงานหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย และ CD ไฟล์ข้อมูลภาพและเสียง และแถบบันทึกเสียง การทำกิจกรรมที่บ้านศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ตลอดปี พ.ศ. 2551
3.2 การประเมินคุณค่า การทำลายและการกำหนดอายุการเก็บเอกสาร (Appraisal destruction and scheduling information)
เอกสารกลุ่มนี้มีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ส่วนบุคคลและประวัติศาสตร์ทางการแพทย์และสาธารณสุข หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์จะจัดเก็บเป็นเอกสารจดหมายเหตุส่วนบุคคลตลอดไป
3.3 การเพิ่มขึ้นของเอกสาร (Accruals)
เอกสารสำคัญของศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ที่ยังไม่ได้รับบริจาคจากท่านยังมีอีกจำนวนมาก จึงต้
3.4 ระบบการจัดเรียงเอกสาร (System of arrangement)
การจัดเรียงเอกสารจัดแยกตามรูปลักษณ์ คือ กระดาษแผ่น หนังสือ และซีดี (ไฟล์ภาพและเสียง) และเรียงตาม
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการเข้าถึงและการใช้เอกสาร (Conditions of access and use area)
4.1 เงื่อนไขในการเข้าถึงเอกสาร (Conditions governing access)
เอกสารให้บริการเฉพาะภายในห้องอ่านเท่านั้นไม่อนุญาตให้นำออกจากห้องใช้บริการ
4.2 เงื่อนไขการทำสำเนาเอกสาร (Conditions governing reproduction)
ผู้ใช้บริการต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่จัดทำสำเนาให้และเสียค่าใช้จ่ายตามระเบียบที่หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทยกำหนด
4.3 ภาษา/ตัวอักษรของวัสดุจดหมายเหตุ (Language/scripts of material)
ภาษาไทยและอังกฤษ
4.4 ลักษณะทางกายภาพและทางเทคนิคที่มีผลต่อการใช้เอกสาร (Physical characteristics and technical requirements)
สำเนาหนังสือ กระดาษแผ่น สำเนาเอกสารที่เขียนด้วยลายมือ ซีดี และแถบบันทึกเสียง
4.5 เครื่องมือช่วยค้น (Finding aids)
คำอธิบายเอกสาร บัญชีสำรวจเอกสาร และสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต
ส่วนที่ 5 ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุที่เกี่ยวข้อง (Allied materials area)
5.1 สถานที่เก็บเอกสารต้นฉบับ (Existence and location of originals)
หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย ชั้น 3 (อาคาร 10 ชั้น) สถาบันบำราศนราดูร 26/146 ซ. ติวานนท์ 14 ถ. ติวานนท์ ต. ตลาดขวัญ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทร. /โทรสาร 0 2951 1009 เว็บไซต์ http://www.nham.or.th/ อีเมล์ : info@nham.or.th
5.2 สถานที่เก็บเอกสารฉบับสำเนา (Existence and location of copies)
-
5.3 เอกสารที่เกี่ยวข้อง (Related units of description)
-
5.4 ข้อความเกี่ยวกับการพิมพ์ (Publication note)
-
ส่วนที่ 6 ข้อมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ หรือส่วนหมายเหตุ (Notes area)
6.1 หมายเหตุ (Notes)
-
ส่วนที่ 7 ข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมการทำคำอธิบายเอกสาร (Description control area)
7.1 บันทึกของนักจดหมายเหตุ (Archivist's note)
แบบคำอธิบายเอกสารนี้ใช้ข้อมูลตาม ISAD (G) : General International Standard Archival Description seco
7.2 กฎ ระเบียบหรือแนวปฏิบัติ (Rules or conventions)
การเข้าใช้เอกสารให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการเข้าใช้เอกสารของหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย พ.ศ
7.3 วัน เดือน ปีที่จัดทำคำอธิบายเอกสาร (Date(s) of descriptions)
วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552